วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่3

💕 วันพุธ ที่22มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.

วันนี้อาจารย์ติดอบรม แต่อาจารย์มอบหมายให้ทำ Mind map
"เรื่อง แนวคิดพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"



สื่อการศึกษา📐
"วงล้อนับเลข"

-เหมาะกับเด็กปฐมวัยช่วงอายุ3-6ปี ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้เพียงความรู้ทางคณิตศาสตร์ วัสดุของสื่อไม่สามารถโดนน้ำหรือกันน้ำได้
ประโยชน์
-ใช้เป็นการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านสติปัญญาในเรื่องคณิตศาสตร์
-เด็กได้ลงมือปฏิบัติและได้เรียนรู้จากการใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม จะส่งผลให้เด็กมีทักษะกระบวนการทางความคิด
-ทำให้เด็กรู้จักการนับอย่างมีความหมายคณิตศาสตร์อันดับแรกที่เด็กรู้จักคือการนับลำดับ1-10หรือมากกว่านั้น
สื่อการสอน
"คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน จากโทรทัศน์ครู"

บทความ📄

"การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"



กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา
 สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็ก
เป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวม
ข้อมูลโดยตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์
ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
กับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา
 ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเน
การประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล

วิจัย📒
"การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์"


ผลวิจัยพบว่า
1.นักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาเกมการศึกษา โดยมีรูปแบบเหมาะสมกับวัยผู้เรียน ภาพมีสีสันสวยงาม   2.เกมการศึกษาที่สร้างขึ้นประกอบด้วย คำนำ วัตถุประสงค์ คู่มือครูแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คู่มือนักเรียน แบบทดสอบ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข1-10 เกมการศึกษามีประสิทธิภาพ82.75/85.60 สูงกว่าเกณฑ์80/80ที่กำหนดไว้  3.นำเกมการศึกษาไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยให้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม ขณะเรียนโดยใช้เกมการศึกษานักเรียนกระตือรือร้นตั้งใจเรียนและสนุกสนานกับการปฏิบัติกิจกรรม  4.ผลการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้เกมการศึกษามีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 และนักเรียนเห็นด้วยต่อการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาในระดับมาก โดยเห็นว่าเกมการศึกษามีรูปแบบที่น่าสนใจช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มีความสุขในการเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และมีเจตคติที่ดีต่อเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์

คำศัพท์ 📢
Learning = การเรียนรู้
Development = พัฒนาการ
Experience = ประสบการณ์
Change = การเปลี่ยนแปลง
Senses = ประสาทสัมผัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครั้งที่15 💖วันพุธ ที่ 22   เมษายน 2563 เวลา 08.30-12.30 น. อาจารย์ให้หาอุปกรณ์ที่อยู่ในบ้าน มีแก้ว2ใบ ใบนึงใส่ข้าวสาร อีกใบเป็นแก้...